วัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตหรือแบบแผนของพฤติกรรมในสังคม ซึ่งสมาชิกในสังคมนั้นได้ปฏิบัติถ่ายทอดสืบกันมาตามแนวความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ความรู้สึก และสิ่งประดิษฐ์ เพื่อความเจริญงอกงามหรืออาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวม ที่ถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมมิใช่สิ่งที่ดีงามสําหรับคนทั่วไปแต่ต้องเป็นสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามความสําคัญของวัฒนธรรม
1. เป็นสิ่งกำหนดรูปแบบของสถาบัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละสังคม
2. เป็นสิ่งที่กําหนดพฤติกรรมของมนุษย์
3. เป็นเครื่องควบคุมให้สังคมเป็นระเบียบได้
ลักษณะของวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่ต้องเรียนรู้
2. วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต วัฒนธรรมเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย
3. วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม
4. วัฒนธรรมเป็นลักษณะที่เหนืออินทรีย์) คือ ไม่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสิ่งของหรือการกระทำนั้น ๆ
การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม1. วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่ต้องเรียนรู้
2. วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต วัฒนธรรมเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย
3. วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม
4. วัฒนธรรมเป็นลักษณะที่เหนืออินทรีย์) คือ ไม่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสิ่งของหรือการกระทำนั้น ๆ
แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ไม่ว่าในทางยอมรับหรือต่อต้าน ย่อมขึ้นอยู่กับรากฐานของวัฒนธรรมในสังคมนั้น
ปัจจัยที่ทำให้สังคมมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
1. ความคิดเห็นและการมองโลกต่างกัน เช่น ความเชื่อ ศาสนา การปกครอง เป็นต้น
2. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ต่างกัน ทำให้พบปัญหาแตกต่างกัน
ประเภทของวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
• วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสุขทางกาย ได้แก่ ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนเครื่องป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตราย • วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม ได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี
อิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงและการต่อต้าน
1. แรงผลักดันในที่ทำงาน 2. การติดต่อกันระหว่างกลุ่มสังคม
3. การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาจเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม การค้นพบ (และอิทธิพลภายในอื่น ๆ) และการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น การแพร่กระจายนี้ ทำให้เกิดรูปแบบบางอย่างที่เคลื่อนตัวจากวัฒนธรรมหนึ่ง 3. การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
มนุษย์กับวัฒนธรรม
ความสำคัญของวัฒนธรรม ที่มีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
ความสำคัญของวัฒนธรรม ที่มีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
1. ความต้องการทางร่างกาย ได้แก่ ความต้องการทางด้านปัจจัย 4
2. ความต้องการทางจิตใจ ได้แก่ ความรัก ความอบอุ่น ความมั่นคงทางจิตใจ3. ความต้องการทางสังคม ได้แก่ การที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นเป็นกลุ่ม เป็นสังคม
การเกิดวัฒนธรรม
ระยะแรกมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีลักษณะคล้ายครอบครัวขนาดใหญ่ เมื่อคนกลุ่มเล็กอาศัยอยู่ด้วยกัน ก็สามารถเข้าใจกัน และประพฤติปฏิบัติต่อกันได้ โดยไม่มีความขัดแย้งเท่าใดนัก
ระยะแรกมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีลักษณะคล้ายครอบครัวขนาดใหญ่ เมื่อคนกลุ่มเล็กอาศัยอยู่ด้วยกัน ก็สามารถเข้าใจกัน และประพฤติปฏิบัติต่อกันได้ โดยไม่มีความขัดแย้งเท่าใดนัก
วัฒนธรรมเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันในสังคมเดียวกันทำความตกลงกันว่าจะยึดระบบไหนดี พฤติกรรมใดบ้างที่จะถือเป็นพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติและมีความหมายอย่างไร แนวความคิดใดจึงเหมาะสม วัฒนธรรมก็คือระบบสัญลักษณ์ในสังคมมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้น
การถ่ายทอดและการรับวัฒนธรรม
เมื่อวัฒนธรรมคือระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและมิใช่ระบบที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณก็ย่อมจะหมายความว่า วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้ และจะต้องมีการถ่ายทอดวัฒนธรรม การถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การที่พ่อแม่สอนลูกว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ ในสังคมไทยพ่อแม่สอนลูกให้ไหว้ผู้ที่มีอาวุโสกว่า ผู้น้อยไม่ควรยืนค้ำศีรษะผู้ใหญ่
เมื่อวัฒนธรรมคือระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและมิใช่ระบบที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณก็ย่อมจะหมายความว่า วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้ และจะต้องมีการถ่ายทอดวัฒนธรรม การถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การที่พ่อแม่สอนลูกว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ ในสังคมไทยพ่อแม่สอนลูกให้ไหว้ผู้ที่มีอาวุโสกว่า ผู้น้อยไม่ควรยืนค้ำศีรษะผู้ใหญ่
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์สังคมและวัฒนธรรม
สังคมและวัฒนธรรมเป็นส่วนสำคัญของความเป็นมนุษย์ เป็นสองสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง สิ่งที่แยกสังคมหนึ่งว่าแตกต่างจากอีกสังคมหนึ่งก็คือวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันวัฒนธรรมก็เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคมและจิตใจของมนุษย์ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ช่วยประสานและผูกมัดไว้ในสังคม
สังคมกับวัฒนธรรม
สังคมและวัฒนธรรมเป็นส่วนสำคัญของความเป็นมนุษย์ เป็นสองสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง สิ่งที่แยกสังคมหนึ่งว่าแตกต่างจากอีกสังคมหนึ่งก็คือวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันวัฒนธรรมก็เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคมและจิตใจของมนุษย์ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ช่วยประสานและผูกมัดไว้ในสังคม
สังคมกับวัฒนธรรม
วัฒนธรรมกับการพัฒนาสังคม
สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน โดยเฉพาะในยุคข่าวสารไร้พรมแดนที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นยุคของคลื่นลูกที่สาม ผลกระทบอย่างหนึ่งของการพัฒนาสังคมตามกระแสโลกคือ วัฒนธรรมของแต่ละประเทศที่รับการเปลี่ยนแปลงในทุกทิศทางนี้จะอ่อนโอนก้าวตามกระแสโลกหรือยังเข้มแข็งคงเอกลักษณ์ประจำชาติของตนไว้ได้
สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน โดยเฉพาะในยุคข่าวสารไร้พรมแดนที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นยุคของคลื่นลูกที่สาม ผลกระทบอย่างหนึ่งของการพัฒนาสังคมตามกระแสโลกคือ วัฒนธรรมของแต่ละประเทศที่รับการเปลี่ยนแปลงในทุกทิศทางนี้จะอ่อนโอนก้าวตามกระแสโลกหรือยังเข้มแข็งคงเอกลักษณ์ประจำชาติของตนไว้ได้
ปัญหาเกี่ยวกับวัฒนธรรม
ปัญหาช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมทางจิตใจ
3.2 ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง
3.3 ปัญหาการเหินห่างจากศาสนา
3.4 ปัญหาการขาดระเบียบวินัย
3.5 ปัญหาการรับวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสมจากต่างประเทศ
3.6 ปัญหาการเผยแพร่ลัทธิและคำ สอนที่ไม่เหมาะสม
ปัญหาช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมทางจิตใจ
3.2 ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง
3.3 ปัญหาการเหินห่างจากศาสนา
3.4 ปัญหาการขาดระเบียบวินัย
3.5 ปัญหาการรับวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสมจากต่างประเทศ
3.6 ปัญหาการเผยแพร่ลัทธิและคำ สอนที่ไม่เหมาะสม
วัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบันนับตั้งแต่คนไทยรับเอาอิทธิพลของชาวต่างชาติเข้ามา ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดในเรื่องของการแต่งกาย,การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งในสมัยก่อนพ่อแม่ของเราจะสอนให้รักนวลสงวนตัว แต่งตัวรัดกุมมิดชิด ไม่เป็นที่ล่อตาล่อใจจากเพศตรงข้าม แต่ในปัจจุบันวัฒนธรรมของเราได้เปลี่ยนไป จากที่เคยแต่งกายสุภาพสมกับเป็นกุลสตรีไทย ก็เหลือเพียงการนุ่งน้อยห่มน้อย เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งเยาวชนของไทยในปัจจุบัน ไปเลียนแบบพฤติกรรมของชาวต่างชาติมาเป็นจำนวนมาก เลยมองเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีความสำคัญอะไร ดังนั้นวัฒนธรรมไทยในอดีตและปัจจุบันมีอิทธิพลของอารยธรรมต่างชาติไม่มากก็น้อย โดยเราได้เลือกสรร สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเข้ากับสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยเป็นการผสมผสานกับวัฒนธรรม ของเราเองที่มีมาแต่เดิม คือ เรายอมรับเอาวัฒนธรรมที่ดีของชาติอื่นที่เราติดต่อด้วยมาเป็นของเราบ้าง ดัดแปลงบ้าง ให้เข้ากับความเชื่อแบบไทยๆ จนเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะแบบของเราเอง ที่แตกต่างกับชาติอื่นๆ โดยในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้พยายามส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรม ที่ดีงามเหล่านี้ตลอดมา
ในปัจจุบันนับตั้งแต่คนไทยรับเอาอิทธิพลของชาวต่างชาติเข้ามา ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดในเรื่องของการแต่งกาย,การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งในสมัยก่อนพ่อแม่ของเราจะสอนให้รักนวลสงวนตัว แต่งตัวรัดกุมมิดชิด ไม่เป็นที่ล่อตาล่อใจจากเพศตรงข้าม แต่ในปัจจุบันวัฒนธรรมของเราได้เปลี่ยนไป จากที่เคยแต่งกายสุภาพสมกับเป็นกุลสตรีไทย ก็เหลือเพียงการนุ่งน้อยห่มน้อย เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งเยาวชนของไทยในปัจจุบัน ไปเลียนแบบพฤติกรรมของชาวต่างชาติมาเป็นจำนวนมาก เลยมองเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีความสำคัญอะไร ดังนั้นวัฒนธรรมไทยในอดีตและปัจจุบันมีอิทธิพลของอารยธรรมต่างชาติไม่มากก็น้อย โดยเราได้เลือกสรร สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเข้ากับสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยเป็นการผสมผสานกับวัฒนธรรม ของเราเองที่มีมาแต่เดิม คือ เรายอมรับเอาวัฒนธรรมที่ดีของชาติอื่นที่เราติดต่อด้วยมาเป็นของเราบ้าง ดัดแปลงบ้าง ให้เข้ากับความเชื่อแบบไทยๆ จนเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะแบบของเราเอง ที่แตกต่างกับชาติอื่นๆ โดยในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้พยายามส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรม ที่ดีงามเหล่านี้ตลอดมา
ประเพณี เป็นระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา โดยมากย่อมมีจุดประสงค์และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด
ความเป็นมา
ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยม โดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ เมื่อความประพฤตินั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียม หรือเป็นระเบียบแบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์เดียวกัน สืบต่อๆกันจนกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้นๆ
ประเภทของประเพณี
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสมาชิกในสังคมต้องทำ ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น
2. ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร ทางอ้อม ได้แก่ ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอน แต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่า หรือตัวอย่างจากที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคมปฏิบัติ
3. ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำ ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบประเพณี หรือมีความผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชิน และไม่รู้สึกเป็นภาระหน้าที่ เพราะเป็นสิ่งที่มีมานานและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากเป็นมารยาทในด้านต่างๆ เช่น การแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหาร ฯลฯ
ประเภทของประเพณี
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสมาชิกในสังคมต้องทำ ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น
2. ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร ทางอ้อม ได้แก่ ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอน แต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่า หรือตัวอย่างจากที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคมปฏิบัติ
3. ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำ ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบประเพณี หรือมีความผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชิน และไม่รู้สึกเป็นภาระหน้าที่ เพราะเป็นสิ่งที่มีมานานและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากเป็นมารยาทในด้านต่างๆ เช่น การแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหาร ฯลฯ
ภูมิปัญญาไทย โดย นายนันทสาร สีสลับ
ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ความต่างกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้และความสามารถโดยส่วนรวม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ส่วน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และความสามารถในระดับท้องถิ่นซึ่งมีขอบเขตจำกัดในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ในขณะที่ภาษาอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
ผู้ทรงภูมิปัญญาไทย หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญา หรือเป็นผู้นำภูมิปัญญาต่างๆมาใช้ประโยชน์จนประสบความสำเร็จ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของภูมิปัญญาในแต่ละสาขานั้นๆ ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง
ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาไทย และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นฐานหลักแห่งภูมิปัญญาไทยเปรียบเหมือนฐานเจดีย์
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ความต่างกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้และความสามารถโดยส่วนรวม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ส่วน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และความสามารถในระดับท้องถิ่นซึ่งมีขอบเขตจำกัดในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ในขณะที่ภาษาอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
ผู้ทรงภูมิปัญญาไทย หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญา หรือเป็นผู้นำภูมิปัญญาต่างๆมาใช้ประโยชน์จนประสบความสำเร็จ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของภูมิปัญญาในแต่ละสาขานั้นๆ ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง
ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาไทย และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นฐานหลักแห่งภูมิปัญญาไทยเปรียบเหมือนฐานเจดีย์
ภูมิปัญญาไทยช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงปกครองประชาชนด้วยพระเมตตาแบบพ่อปกครองลูก ผู้ใดประสบความเดือดร้อนก็สามารถตีระฆังแสดงความเดือดร้อนเพื่อขอรับพระราชทานความช่วยเหลือทำให้ประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ต่อประเทศชาติ ร่วมกันสร้างบ้านเรือนจนเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญากระทำยุทธหัตถีจนชนะข้าศึกศัตรู และทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยคืนมาได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญาสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ และเหล่าพสกนิกรมากมายเหลือคณานับ ทรงใช้พระปรีชาสามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ จนรอดพ้นภัยพิบัติหลายครั้งพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน แม้แต่ด้านการเกษตร พระองค์ได้พระราชทานทฤษฎีใหม่ให้แก่พสกนิกร ทั้งด้านการเกษตรแบบสมดุลและยั่งยืน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นำความสงบร่มเย็นของประชาชนให้กลับคืนมา แนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นโดยเริ่มจาก
ขั้นตอนแรก ให้เกษตรกรรายย่อย "มีพออยู่พอกิน" เป็นขั้นพื้นฐาน โดยการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นา ซึ่งเกษตรกรจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยราชการมูลนิธิ และหน่วยงานเอกชน ร่วมใจกันพัฒนาสังคมไทย
ขั้นที่สอง เกษตรกรต้องมีความเข้าใจในการจัดการในไร่นาของตน และมีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ เพื่อสร้างประสิทธิภาพทางการผลิตและการตลาด การลดรายจ่ายด้านความเป็นอยู่ โดยทรงตระหนักถึงบทบาทขององค์กรเอกชน เมื่อกลุ่มเกษตรวิวัฒน์มาขั้นที่ ๒แล้ว ก็จะมีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่
ขั้นที่ สาม ซึ่งจะมีอำนาจในการต่อรองผลประโยชน์กับสถาบันการเงินคือธนาคาร และองค์กรที่เป็นเจ้าของแหล่งพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการผลิตโดยมีการแปรรูปผลิตผล เช่น โรงสี เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผล และขณะเดียวกันมีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในสังคมจะเห็นได้ว่ามิได้ทรงทอดทิ้งหลักของความ สามัคคีในสังคมและการจัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งทรงสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรสร้างอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจจึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงจัดได้ว่าเป็นสังคมเกษตรที่พัฒนาแล้ว สมดังพระ-ราชประสงค์ที่ทรงอุทิศพระวรกายและพระสติปัญญา ในการพัฒนาการเกษตรไทยตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์
สร้างความภาคภูมิใจ และศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแก่คนไทย
คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารย
ประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทยจนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึกและแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็นวรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรมหลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา
ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูดใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น
ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูดใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น
สามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม
คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยนำหลักธรรมคำสอนของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นผู้อ่อน-น้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอมรักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด ดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายปกติสุข ทำให้คนในชุมชนพึ่งพากันได้ แม้จะอดอยากเพราะแห้งแล้ง แต่ไม่มีใครอดตาย เพราะพึ่งพาอาศัยกัน แบ่งปันกันแบบ "พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้" เป็นต้น ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการใช้ภูมิ-ปัญญาในการนำเอาหลักของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และดำเนินกุศโลบายด้านต่างประเทศ จนทำให้ชาวพุทธทั่วโลกยกย่องให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางพุทธศาสนา และเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) อยู่เยื้องๆ กับอุทยานเบญจสิริกรุงเทพมหานคร โดยมีคนไทย (ฯพณฯ สัญญาธรรมศักดิ์ องคมนตรี) ดำรงตำแหน่งประธานพสล. ต่อจาก ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล สร้างความสมดุลระหว่างคนในสังคมและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
ภูมิปัญญาไทยมีความเด่นชัดในเรื่องของการยอมรับนับถือ และให้ความสำคัญแก่คน สังคมและธรรมชาติอย่างยิ่ง มีเครื่องชี้ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนมากมาย เช่น ประเพณีไทย ๑๒ เดือนตลอดทั้งปี ล้วนเคารพคุณค่าของธรรมชาติได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทงเป็นต้น ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ทำในฤดูร้อนซึ่งมีอากาศร้อน ทำให้ต้องการความเย็นจึงมีการรดน้ำดำหัว ทำความสะอาดบ้านเรือนและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการแห่นางสงกรานต์การทำนายฝนว่าจะตกมากหรือน้อยในแต่ละปี ส่วนประเพณีลอยกระทง คุณค่าอยู่ที่การบูชาระลึกถึงบุญคุณของน้ำ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคน พืช และสัตว์ ให้ได้ใช้ทั้งบริโภคและอุปโภค ในวันลอยกระทง คนจึงทำความสะอาดแม่น้ำลำธาร บูชาแม่น้ำจากตัวอย่างข้างต้น ล้วนเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติทั้งสิ้นในการรักษาป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ได้ประยุกต์ให้มีประเพณีการบวชป่า ให้คนเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม ยังความอุดมสมบูรณ์แก่ต้นน้ำ ลำธาร ให้ฟื้นสภาพกลับคืนมาได้มาก
อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลักของคนไทยที่คำนึงถึงความสมดุล ทำแต่น้อยพออยู่พอกินแบบ "เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน" ของพ่อทองดี นันทะ เมื่อเหลือกินก็แจกญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง นอกจากนี้ ยังนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่นที่ตนไม่มี เมื่อเหลือใช้จริงๆ จึงจะนำไปขาย อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเกษตรแบบ "กิน-แจก-แลก-ขาย" ทำให้คนในสังคมได้ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันกัน เคารพรักนับถือ เป็นญาติกันทั้งหมู่บ้าน จึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นธรรมชาติไม่ถูกทำลายไปมากนัก เนื่องจากทำพออยู่พอกิน ไม่โลภมากและไม่ทำลายทุกอย่างผิดกับในปัจจุบัน ถือเป็นภูมิปัญญาที่สร้างความสมดุลระหว่างคน สังคม และธรรมชาติ
เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามยุคสมัย
แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป ความรู้สมัยใหม่จะหลั่งไหลเข้ามามาก แต่ภูมิปัญญาไทยก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่นการรู้จักนำเครื่องยนต์มาติดตั้งกับเรือ ใส่ใบพัดเป็นหางเสือ ทำให้เรือสามารถแล่นได้เร็วขึ้น เรียกว่า เรือหางยาว การรู้จักทำการเกษตรแบบผสมผสาน สามารถพลิกฟื้นคืนธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์แทนสภาพเดิมที่ถูกทำลายไป การรู้จักออมเงิน สะสมทุนให้สมาชิกกู้ยืม ปลดเปลื้องหนี้สิน และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก จนชุมชนมีความมั่นคง เข้มแข็ง สามารถช่วยตนเองได้หลายร้อยหมู่บ้านทั่วประเทศ เช่นกลุ่มออมทรัพย์คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราชจัดในรูปกองทุนหมุนเวียนของชุมชน จนสามารถช่วยตนเองได้เมื่อป่าถูกทำลายเพราะถูกตัดโค่นเพื่อปลูกพืชแบบเดี่ยวตามภูมิปัญญาสมัยใหม่ที่หวังร่ำรวยแต่ในที่สุดก็ขาดทุนและมีหนี้สิน สภาพแวดล้อมสูญเสียเกิดความแห้งแล้ง คนไทยจึงคิดปลูกป่าที่กินได้ มีพืชสวน พืชป่า ไม้ผลพืชสมุนไพรซึ่งสามารถมีกินตลอดชีวิตเรียกว่า "วนเกษตร"บางพื้นที่เมื่อป่าชุมชนถูกทำลาย คนในชุมชนก็รวมตัวกันเป็นกลุ่มรักษาป่า ร่วมกันสร้างระเบียบกฎเกณฑ์กันเอง ให้ทุกคนถือปฏิบัติได้ สามารถรักษาป่าได้อย่างสมบูรณ์ดังเดิม
เมื่อปะการังธรรมชาติถูกทำลาย ปลาไม่มีที่อยู่อาศัย ประชาชนสามารถสร้าง "อูหยัม" ขึ้นเป็นปะการังเทียม ให้ปลาอาศัยวางไข่และแพร่พันธุ์ให้เจริญเติบโตมีจำนวนมากดังเดิมได้ถือเป็นการใช้ภูมิปัญญาปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้ตามยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย คือ องค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น และรวมถึงงาน ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ภูมิปัญญาฯ ประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น เช่น การผลิตอาหารและ เครื่องดื่ม การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ และการผลิต ผลิตภัณฑ์จากไม้ หิน โลหะ แก้ว เซรามิค ดินเผา เครื่องหนัง และอื่น ๆ
2. ภูมิปัญญาฯ ประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น เรื่องเล่าพื้นบ้าน กวีนิพนธ์ พื้นบ้าน ปริศนา พื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน การฟ้อนรำพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน จิตกรรม พื้นบ้าน ประติมากรรมพื้นบ้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน และสิ่งทอพื้นบ้าน
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่ได้รับการจดแจ้งแล้ว จะถูกรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูล สำหรับให้ ประชาชนผู้สนใจได้ค้นหาข้อมูล หรือติดต่อกับผู้แจ้งข้อมูล เพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจ อันเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาฯ ให้มีการนำไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดในเชิง พาณิชย์ นอกจากนี้ ผู้แจ้งข้อมูลภูมิปัญญาฯ อาจนำหนังสือรับรองที่ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ออกให้ไปแสดงต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญา ให้เป็นทุนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อหรือหลักประกันใน การชำระหนี้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมากมายหลายแขนง แต่มักจะถูกมองว่าล้าหลัง คนบางกลุ่มจึงไม่ค่อยให้ความนิยมและสืบสานกันมากนัก ส่วนใหญ่แล้วภูมิปัญญาท้องถิ่นมักสืบทอดบอกกล่าวกันเป็นการภายใน เช่น สูตรทำอาหาร หรือตำรับตำราต่าง ๆ ทำให้ไม่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป อาจจำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น 10 ลักษณะได้ดังนี้
- ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา - ภูมิปัญญาประเภทนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากมีพื้นฐานทางความเชื่อในศาสนาที่แตกต่างกัน สำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักนั้นได้มีส่วนสร้างสรรค์สังคม โดยการผสมผสานกับความเชื่อดังเดิมจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรม - เนื่องจากประเพณีและพิธีกรรมเป็นสิ่งที่ดีงามที่คนในท้องถิ่นสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะเป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจคนในสังคม ภูมิปัญญาประเภทนี้จึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในสังคมเป็นอย่างมากดังจะเห็นได้จากประเพณีและพิธีกรรมที่สำคัญในประเทศไทยล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมแทบทั้งสิ้น
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน - เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปต่างๆโดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหลังจากนั้นได้สืบทอดโดยการพัฒนาอย่างไม่ขาดสายกลายเป็นศิลปะที่มีคุณค่าเฉพาะถิ่น
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับอาหารและผักพื้นบ้าน - นอกจากมนุษย์จะนำอาหารมาบริโภคเพื่อการอยู่รอดแล้ว มนุษย์ยังได้นำเทคนิคการถนอมอาหารและการปรุงอาหารมาใช้ เพื่อให้อาหารที่มีมากเกินความต้องการสามารถเก็บไว้บริโภคได้เป็นเวลานานซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยังนำผักพื้นบ้านชนิดต่างๆมาบริโภคอีกด้วย
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน - การละเล่นถือว่าเป็นการผ่อนคลายโดยเฉพาะในวัยเด็กซึ่งชอบความสนุกสนานเพลิดเพลิน ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์ในการละเล่นที่ประดิษฐ์มาจากธรรมชาติซึ่งแสดงให้เห็นวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ และรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างกลมกลืน
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม - ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของแต่ละภาคเราสามารถพบหลักฐานจากร่องรอยของศิลปวัฒนธรรมที่ปรากฏกระจายอยู่ทั่วไป เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเทคนิค ความคิด ความเชื่อของบรรพบุรุษเป็นอย่างดี
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน - ภูมิปัญญาประเภทนี้ส่วนมากแสดงออกถึงความสนุกสนาน และยังเป็นคติสอนใจสำหรับคนในสังคม ซึ่งมีส่วนแตกต่างกันออกไปตามโลกทัศน์ของคนในภาคต่างๆ
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับสมุนไพรและตำรายาพื้นบ้าน - ภูมิปัญญาประเภทนี้เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ของคนในอดีตและถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ หากได้รับการพัฒนาหรือส่งเสริมจะเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตได้
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการประดิษฐกรรม - เทคโนโลยีและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละภาคนั้นถือเป็นการประดิษฐกรรมและหัตถกรรมชั้นเยี่ยม ซึ่งปัจจุบันไม่ได้รับความสนใจในการพัฒนาและส่งเสริมภูมิปัญญาประเภทนี้เท่าที่ควร หากมีการเรียนรู้และสืบทอดความคิดเกี่ยบกับการประดิษฐกรรมและหัตถกรรมให้แก่เยาวชน จะเป็นการรักษาภูมิปัญญาของบรรพชนได้อีกทางหนึ่ง
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ - เนื่องจากคนไทยมีอาชีพที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนา ทำไร่ จึงทำให้เกิดภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อแก้ปัญหาหรืออ้อนวอนเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกและเพื่อเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเกษตรทั่วทุกภูมิภาคของไทย